เบญจรงค์ มาจากคำว่า เบญจ ที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต (ป.ปญฺจ อ่านว่า ปัน-จะ ส. ปญฺจนฺ อ่านว่า ปัน-จัน) และ คำว่า รงค์ ที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต (ป., ส. รงฺค อ่านว่า รง-คะ) รวมกันได้ความว่า ๕ สี มีการใช้คำนี้ในหลายบริบทด้วยกัน เช่น ฉัตรเบญจรงค์(ฉัตรราชวัติ),ดอกเบณจรงค์ ๕ สี,ข้าวเบญจรงค์(ข้าว๕สี) แต่ที่เรารู้จักและคุ้นเคยที่สุดในนามของเบญจรงค์ คือ เครื่องเคลือบเซรามิคเขียนลาย โดยชื่อก็ได้มาจากสีที่เขียนลงในเครื่องเคลือบชนิดนี้ ที่นิยมกันคือ แดง เหลือง ขาว ดำ เขียว มี่กันอยู่ ๕ สีจึงเรียกว่าเบญจรงค์ ซึ่งเครื่องเบญจรงค์ก็ได้วิวัฒนาการมาด้วยระยะเวลาอันยาวนาน จนปรากฏเป็น เครื่องเบญจรงค์ลายน้ำทองในปัจจุบัน
เครื่องเบญจรงค์ มีประวัติที่ยาวนาน ซึ่งเบญจรงค์ก็มีวิวัฒนาการมาจากเครื่องปั้นดินเผาโบราณของจีน
เอ็มเอ็สเบณจรงค์จึงขอนำเสนอประวัติของเครื่องปั้นดินเผาโบราณของจีนเพื่อเป็นการปูพื้นไปสู่ประวัติของเบญจรงค์
ในยุคของราชวงค์ชาง(๑๕๕๐ ปีก่อน ค.ส -๑๐๒๕ ปีก่อนค.ส ยุคเดียวกับกระดูกเสี่ยงทาย) เครื่องปั้นดินเผาจะเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่ไม่มีเคลือบ ใช้อุณหภูมิที่เผา เพียง ๖๐๐-๗๐๐ องศาเซลเซียส การออกแบบจะใช้หลักทฤษฎีหยินหยาง คือทุกอย่างจะสอดคล้องกลมกลืนกัน แม่จะมีการขัดแยงในตัว ส่วนการตกแต่งลวดรายจะใช้การขูดลงเนื้อดินเพื่อให้เป็นลายต่าง แล้วจึงนำไปเผา
ภาพเครื่องเบญจรงค์ลายครุฑ และ เทพพนมสมัยอยุธยา จะยังไม่มีการเขียนลายน้ำทอง แต่จะมีการเขียนสี ๕ สี คือ สีดำ สีแดง สีเหลือง สีขาว และ สีเขียว
ฉัตรเบญจรงค์
ภาพมณฑปพระมุรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาทิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเจ้าเกล้าอยู่หัว สี่มุมของมณฑปพระมุรธาภิเษกจะเห็นฉัตรเบญจรงค์ สี เงิน ทอง และ นาก
ความหมายของฉัตรเบญจรงค์ คือ ฉัตร แม่สี เป็นหนึ่งในฉัตรราชวัติ(ฉัตรบอกอาณาเขตมณฑลพิธี)
ข้าวเบญจรงค์
คือ ข้าวหลายชนิดที่ผสมกันให้ได้ ๕ สี ไม่ว่าจะเป็น ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมนิล ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวกล้อง มีสรรพคุณที่หลากหลายและมากมาย
ดอกเบญจรงค์ ๕ สี
นิยมนำมาต้มจิ้มน้ำพริก หรือ แกงต่างๆ มีสรรพคุณบำรุงเลือด บำรุงกำลัง บำรุงสายตา
ผลงานเบญจรงค์ลายน้ำทองของ Ms benjarong ในปัจจุบัน เน้นความสวยงาม ประณีต ละเอียด เพื่อความพึงพอใจของลูกค้า